หลักสูตร ปริญญาโท

43,967 Views

   มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายกระจายโอกาสการศึกษาไปสู่ภูมิภาค จึงขยายเขตการศึกษาไปยังวิทยาเขตแห่งใหม่ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นวิทยาเขตแห่งที่ 3 ของมหาวิทยลัย ถัดจากวิทยาเขตวังท่าพระ กรุงเทพมหานคร และวิทยาเขต พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

   คณะวิทยาการจัดการ (Faculty of Management Science) จัดตั้งขึ้นเป็นคณะวิชาที่ 12 ของมหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มจัดการเรียนการสอนที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีในปี พ.ศ. 2545 มีจุดมุ่งหมายที่จะผลิตบุคลากรในสาขาวิชาที่มีความสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ระดับหนึ่ง เป็นบัณฑิตที่มีความสามารถทางธุรกิจขั้นพื้นฐาน รวมทั้งมีความสามารถในการร่วมปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ และธุรกิจเอกชนได้เป็นอย่างดี โดยคำนึงถึงความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจของผู้รับบริการ คุณภาพชีวิต และคุณภาพสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญ

 

ปณิธานการศึกษา
“สร้างสรรค์ปัญญา พัฒนาความรู้ เชิดชูจริยธรรม ผู้นำการปฏิบัติ”
สีประจำคณะ
สีฟ้าน้ำทะเล
ปัจจุบันคณะวิทยาการจัดการ เปิดสอนนักศึกษาในหลักสูตร ปริญญาโท จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้
หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต
หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต

รายละเอียดสำหรับนักศึกษาหลักสูตร ปริญญาโท

การเข้ารับศึกษา

    ผ่านกระบวนการคัดเลือกของคณะวิทยาการจัดการ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง การรับสมัครนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.ms.su.ac.th/

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

    1. เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2550 ข้อ 7 และ

    2. สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตทุกสาขาวิชาหรือเทียบเท่า

    3. มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ตำ่กว่า 2.50 หรือมีประสบการณ์ในการทํางานหลังจบการศึกษาขั้นปริญญาบัณฑิตมาแล้วอย่างน้อย 1  ปีโดยมีใบรับรองจากหน่วยงานที่ปฏิบัติหรือเคยปฏิบัติงานอยู่

    4. คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจําคณะวิทยาการจัดการ อาจจะพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครที่เหมาะสมและสามารถที่จะศึกษาจนสําเร็จได้

ระบบการศึกษา

    1. จัดการศึกษาในระบบทวิภาค โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา และหนึ่งภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

    2. การคิดหน่วยกิต

        2.1 รายวิชาบรรยาย หรืออภิปรายปัญหา 1 หน่วยกิต เท่ากับ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

        2.2 รายวิชาฝึกหรือปฏิบัติการ 1 หน่วยกิต เท่ากับ 2 หรือ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ

        2.3 รายวิชาสัมมนา 1 หน่วยกิต เท่ากับการบรรยายร่วมกับการอภิปราย 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์

        2.4 รายวิชาฝึกงานหรือการฝึกภาคสนาม 1 หน่วยกิต เท่ากับ 3-6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือไม่น้อย กว่า 45 ชั่วโมง ต่อภาคการศึกษาปกติ

        2.5 รายวิชาศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าอิสระ หรือวิทยานิพนธ์ 1 หนวยกิตเท่ากับ 3-4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ

    3. เกณฑ์ในการกําหนดหน่วยกิต

             ในแต่ละรายวิชา กําหนดเกณฑ์ในการคํานวณหน่วยกิต จากผลรวมของจํานวนชั่วโมงบรรยาย (บ) ชั่วโมงปฏิบัติ (ป) และชั่วโมงที่นักศึกษาต้องศึกษาด้วยตนเองนอกเวลาเรียน (น) ต่อ 1 สัปดาห์แล้วหารด้วย 3 ดังนี้ 

        จํานวนหนวยกิต  = (บ + ป + น)/3

        การเขียนหน่วยกิตในรายวิชาต่าง ๆ ประกอบด้วยตัวเลข 4 ตัว คือ

            3.1 เลขตัวแรกอยู่นอกวงเล็บ เป็นจํานวนหน่วยกิตของรายวิชานั้น

            3.2 เลขตัวที่สอง สาม และสี่อยู่ในวงเล็บบอกโดย

                3.2.1 ตัวที่สองบอกจํานวนชั่วโมงบรรยาย / สัปดาห์

                3.2.2 ตัวที่สามบอกจํานวนชวโมงปฏิบัติ/ สัปดาห์

                3.2.3 ตัวที่สี่บอกจำนวนชั่วโมงศึกษานอกเวลา/ สัปดาห์

            เช่น 3 (3-0-6) เลข 3 นอกวงเล็บ หมายถึง จํานวนหน่วยกิต ตัวเลขในวงเล็บ เลข 3 หมายถึง จํานวนชั่วโมงบรรยาย เลข 0 หมายถึง จํานวนชั่วโมงปฏิบัติและ เลข 6 หมายถึง จำนวนชั่วโมงที่นักศึกษาต้องศึกษาด้วยตนเองนอกเวลาเรียน

ระยะเวลาการศึกษา

    1. ระยะเวลาการศึกษาตามหลักสูตร 2 ปีการศึกษา

    2. ระยะเวลาศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 5 ปีการศึกษา

การลงทะเบียนเรียน

1. การลงทะเบียนเรียน

        ให้นักศึกษาลงทะเบียนเรียนตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2550 ข้อ 22

    2. อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

        ให้เป็นไปตามประกาศของคณะวิทยาการจัดการ และบัณฑิตวิทยาลัย

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

1. การวัดผล

        การวัดผล และการประเมินผลการศึกษา ให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2550 หมวดที่ 4 การวัดผลและประเมินการศึกษา หมวดที่ 5 การสอบภาษา ต่างประเทศ การสอบประมวลความรู้และสอบวัดคุณสมบัติ

2. การสําเร็จการศึกษา

         ผู้สําเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต ต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศิลปากร ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2550 หมวดที่ 7 การสําเร็จการศึกษา

การเทียบโอนหน่วยกิต

ให้เป็นไปตามประกาศของคณะวิทยาการจัดการ และบัณฑิตวิทยาลัย

การประกันคุณภาพการศึกษาหลักสูตร

ผ่านกระบวนการคัดเลือกของคณะวิทยาการจัดการ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง การรับสมัครนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่  http://www.graduate.su.ac.th/

อาจารย์ผู้สอน

ผ่านกระบวนการคัดเลือกของคณะวิทยาการจัดการ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ตามประกาศบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร เรื่อง การรับสมัครนักศึกษาเข้าศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.graduate.su.ac.th/

SITEMAP
แผนผังเว็บไซต์